วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ


                   อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ประเทศกัมพูชา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และมีบางที่นับถือ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ในตัวเมืองอุบลราชธานี มีวัดที่สำคัญอยู่หลายวัด ในตอนนี้จะนำเสนอวัดที่มีความสำคัญอีกวัดหนึ่ง
ในตัวเมืองอุบลราชธานี
                   วันใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.2322 มีชื่อเดิมว่าวัดใต้เทิง ตามประวัติกล่าวว่า เดิมมีอยู่ 2 วัด คือวัดใต้เทิง และวัดใต้ท่า ต่อมาได้ยุบ 2 วัดมาเป็นวัดเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2545 เรียกว่าวัดใต้เทิง คำว่าเทิง แปลว่าเหนือหรือสูงขึ้นไป ต่อมาคำว่า เทิง หายไป เหลือแต่คำว่าวัดใต้ สิ่งสำคัญในวัดนี้ คือพระอุโบสถสร้างด้วยศิลปะ 3 ชาติ อยู่ในหลังเดียวกัน คือหลังคาเป็นทรงไทย ประยุกต์ ส่วนฐานเป็นศิลปะขอมผสมเวียดนาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่หนัก 1 ตื้อ จึงได้ชื่อว่าวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
                    Wat Tai Phra Yai Ong Tur, Amphoe Muang, An important temple of ubon raychathani,it was built in 1779, Originally there were two temples close by each other,  Wat Tai Terng and Wat Tai Ta, In 2002 they were merged into one under the name of  Wat Tai Terng. The word “Terng” meaning north or above, then disappeared from the name. The main attraction of Wat Tai is its ordination hall, which features a combination of styles from three nations: the roof is of applied Thai art, the best a mix of Khmer and Vietnamese styles. The temple houses a large Buddha image weighing one tuer, an ancient local measuring unit which the name of the temple was derived from.       

              วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ (วัดใต้เทิง) หรือวัดใต้ เป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันมีเจ้าคุณฯพระสิริธรรมวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธรรมยุต) เป็นจ้าอาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ตั้งวัด 9 ไร่ 40 – 3 – 10 วา ลักษณะพื้นดินราบสูง พื้น 3 ชั้น อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมูล ทางด้านทิศตะวันออก มีสำนกงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาค 2 อุบลราชธานี และโรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล เป็นพื้นที่ติดต่อกับวัด

จารึกหลักที่1
                    การริเริ่มก่อสร้างวัดนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ซึ่งวัดใต้เทิง ได้จดทะเบียนเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2322 และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2441 โดยมีท้าวสิทธิสาร กับ เพี้ยเมืองแสนและราษฎร ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสูงคามสีมา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ 103/378 (ตราประทับอักษรขอม) ว่า ซึ่งมีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่คนทั้งปวงว่า ที่เขตอุโบสถวัดใต้แขวงเมืองอุบลราชธานี โดยยาว 12 วา 1 ศอก กว้าง 7 วา 1 ศอก ท้าวสิสธิสารกับเพี้ยเมืองแสนและราษฎรไก้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสุงคามสีมา พระเจ้าทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรรมการปักคำกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศนั้นให้เป็นที่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งตากหาก จากพระราชอาณาเขต เป็นที่เศษสำหรับพระสงฆ์มาจากทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรม มีอุโบสถกรรม เป็นต้น ประกาศพระราชมานตั้งแต่ วันที่ 29 พฤศจิกายน รศ.117 พระพุทธศาสนกาล 2441 พรรษา เป็นวันที่ 10976 ในรัชกาลปัจจุบัน

จารึกหลักที่ 2
                เมื่อ พ.ศ.2509-2519 ได้ก่อสร้างโบสถ์และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ 5 ลำดับที่ 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 196 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2522 กำหนดเขตกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2522
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ(Phra Yai Ong Tur)
                    พระพุทธประธานในพระอุโบสถวัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นเนื้อทองเก้าสัมฤทธิ์ปางวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว (รวมฐาน) ได้รับการยกย่องมาว่า เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามในประเทศไทยและภาคอีสานเป็นพระประธานองค์ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตามประวัติในประเทศไทย มีอยู่ 5 องค์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ครองนครเวียงจันทร์ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เดิมประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า ฐานรองรับสูง 70 เซนติเมตร สร้างแบบง่ายๆ ภายหลังอุโบสถหลังเก่าทรุดโทรม พระเจ้าองค์ตื้อจึงอยู่กลางแจ้ง ตากแดด ตากฝน เป็นเวลานานทำให้องค์พระพุทธรูปองค์ตื้อมีรอยแตก เป็นสะเก็ดออกมา ผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยปู่ย่าตาทวดได้บอกเล่าสืบต่อกันมาว่า... พระพุทธรูปองค์ตื้อนี้ได้ถูกหุ้มห่อทาปอมพอกเอาไว้พอกด้วยเปลือกไม้ ยางบด ผสมผงอิฐเจ และทองคำ เงิน นาก สัมฤทธิ์ เงิน รางกาชาดซะพอก ให้น้ำเกลี้ยง น้ำชาดผสมทาปอมพอก แล้วลงรักปิดทองที่เข้าเมืองอุบลราชธานี และ เถราจารย์ในสมัยนั้น เพราะเป็นสมบัติล้ำค่าที่ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ซึ่งองค์พระพุทธรูปเป็นทองแท้สัมฤทธิ์กลัวว่าจะถูกข้าศึกศัตรูขนเอาไป จึงได้ทาปอมพอกปิดเอาไว้ และปล่อยทิ้งเป็นวัดร้างนานถึง 200 ปี

                   ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507-2508 ครั้งนั้นพระภิกษุสวัสดิ์ ทสฺสนีโย ปัจจุบัน เป็นราชาคณะชั้นราช ที่พระราชธรรมโกศล เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ รูปที่ 13 ปัจจุบันและเป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ) ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น นำพระภิกษุ-สามเณร ทายก-ทายิกา และชาวบ้านชุมชนใกล้วัด ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2519 เมื่อสร้างฐานแท่นพระพุทธรูปพระประธานเสร็จจึงได้ยกพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อขึ้นประดิษฐานที่แท่นจนถึงปัจจุบันนี้ รวมอายุองค์พระประมาณ 225 ปี(ตื้อ เป็นการนับจำนวนของชาวอีสาน )
                ปัจจุบัน ทางวัดและประชาชนร่วมกันดำเนินการสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนที่สนใจร่วมทำบุญได้ที่วัด... และเชิญชวนคุณครู...และนักเรียน นักศึกษา..ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม...






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น