วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัจจัยพื้นฐานกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

       
            สำนักทดสอบทางการศึกษา ได้วิเคราะห์มาตรฐานที่ควรปรับปรุงเร่งด่วน ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จากผลการทดสอบ O – NET ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดนโยบายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ (O - NET) มาตรฐานการเรียนรู้ที่ต่ำมาก ได้แจ้งให้สถานศึกษาทุกแห่งทราบแล้ว ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะในสาระการเรียนรู้หลัก ๕ สาระ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มัธยมศึกษาปีที่ ๖
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          มาตรฐานที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
                   ๑.มาตรฐาน ท.๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็นและ วรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
                   ๒.มาตรฐาน ท.๒.๑ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
                   ๓.มาตรฐาน ท.๔.๒ สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้ เสริมสร้างลักษณะบุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาชีพ สังคม และชีวิตประจำวัน
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
                   มาตรฐาน ท.๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

          สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          มาตรฐานที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
                   ๑.มาตรฐาน ค. ๖.๔ มีความรู้ความเข้าใจในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
                   ๒.มาตรฐาน ค.๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
                   ๓.มาตรฐาน ค.๒.๒ วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
                   ๔.มาตรฐาน ค.๑.๔ เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                   ๑.มาตรฐาน ค.๖.๒ มีความสามารถในการให้เหตุผล
                   ๒.มาตรฐาน ค.๖.๕ มีความคิดสร้างสรรค์
                   ๓.มาตรฐาน ค.๖.๔ มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นได้
                   ๔.มาตรฐาน ค.๖.๓ มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
                   ๑.มาตรฐาน ค.๒.๒ วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
                   ๒.มาตรฐาน ค.๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
                   ๓.มาตรฐาน ค.๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                   ๔.มาตรฐาน ค.๕.๑ เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
                   ๕.มาตรฐาน ค.๕.๒ ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์อย่างสมเหตุสมผล
นักเรียนที่มีพัฒนาการช้า
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          มาตรฐานที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
                   ๑.มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
                   ๒.มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                   ๑.มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
                   ๒.มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                   ๓.มาตรฐาน ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิททยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                   ๔.มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
                   มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                   ๒.มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
๓.มาตรฐาน ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจ
อวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
๔.มาตรฐาน ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก
ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิททยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
งานเกษตรในโรงเรียน
สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
          มาตรฐานที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
                   มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและมีจิตสำนึก อนุรักษ์ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                   มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
                   มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจอย่างพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
บูรณาการอาชีพ
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                  มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการ
บริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจอย่างพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
                   มาตรฐาน ส ๒.๑ ปฎิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี ตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข    
                   มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆความสัมพันธ์ของ
ระบบเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
                   มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความ
ภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆความสัมพันธ์ของ
ระบบเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
มาตรฐาน ส ๒.๒ เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่นศรัทธา
และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เยี่ยมห้องเรีียน
          สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
          มาตรฐานที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
                   มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจกระบวนการฟังการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจาดสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
                   มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา และเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็น แสดงความรู้สึกโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
                   มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตนเอง
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา และเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความ
คิดเห็น แสดงความรู้สึกโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                   มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจกระบวนการฟังการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจาดสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
                   มาตรฐาน ต ๔.๒ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงาน การประกอบอาชีพ และสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้
อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตนเอง
                   มาตรฐาน ต ๔.๒ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงาน การประกอบอาชีพ และสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความหมายและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรม
ของเจ้าของภาษากับภาษา และวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเด็ก ๆ
          * ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกันหลายสาระที่เป็นผลทำให้มาตรฐานการเรียนรู้ที่ต่ำ คือ การเชื่อมโยงสาระความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตนเอง
          การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นปัญหาที่กระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะในการประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ. ผลสัมฤทธิ์จะเป็นประเด็นชี้ขาดในการที่จะได้รับการรับรองหรือไม่ การประเมินในรอบที่ ๓ ที่ผ่านมา มีหลายโรงเรียนที่ไม่ผ่านในมาตรฐานดังกล่าว

          การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องวิเคราะห์ในปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะในส่วนของสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้รับผลกระทบหลัก จะต้องวิเคราะห์ผลการสอบของนักเรียนในโรงเรียนหาจุดที่ต่ำที่ทำให้เกิดปัญหา มาตรฐานในสาระการเรียนรู้ใดที่นักเรียนในโรงเรียนไม่ผ่าน ครูผู้สอนได้สอนตามหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่ สอนครบหลักสูตรหรือไม่ เด็กนักเรียนที่มีความบกพร้องในด้านการเรียนได้รับการพัฒนาหรือไม่ งานของคุณครูที่มีภาระนอกเหนือจากการสอนนักเรียน ภายใต้คำพูดที่ว่า "ภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมาย"ทุกอย่างล้วนเป็นประเด็นที่ส่งผลให้กับผลสัมฤทธิ์ทั้งสิ้นนี้คือประเด็นปัญหาที่พบได้ในสถานศึกษา
"บ้าน" หนึ่งในปัจจัยพื้นฐาน
          ถ้าออกนอกสถานศึกษา สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องไม่ลืมก็คือคนเราทุกคนต้องการปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีวิต ปัจจัย ๔ เป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กทุกคนต้องการ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย รวมทั้งยารักษาโรค ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมันไม่เพียงพอ เด็กหรือผู้ปกครองที่ไหนจะมีกำลังใจส่งบุตรหลานให้เข้าเรียนหรือให้ไปเรียนได้ทุกวัน สิ่งเหล่าที่ส่งผลต่อการเรียนของนักเรียนมีนักเรียนหลายคนที่ต้องขาดเรียนเนื่องมาจากต้องช่วยผู้ปกครองทำงาน ทั้งที่ไม่อยากขาดเรียนและผู้ปกครองก็ใช่ว่าจะต้องการให้ขาด แต่ความขาดแคลนมันบังคับ ความขาดแคลนในครอบครัวเป็นสิ่งที่บันทอนความมั่นคงของสถาบันครอบครัว ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อการการเรียนใช่หรือใม่ 
 สภาพนักเรียนและผู้ปกครอง
                  เด็กที่มีปัญหาทางด้านครอบครัวไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ อยู่กับย่ากับยาย หรือผู้ปกครองอื่นที่เป็นแค่ญาติ เคยพบเคยเห็นที่เด็กต้องอาศัยอยู่ด้วยกันแค่พี่น้องสองคนผู้ปกครองต้องไปทำงานต่างถิ่น หรือบางครอบครัวต้องอยู่กันเฉพาะพี่ ๆ น้องๆ เพราะบังเอิญพ่อกับแม่เสียชีวิตทั้งหมด เป็นประเด็นต่อผลการเรียนใช่หรือไม่ เด็กที่มีพัฒนาการทางสมองช้าสืบเนื่องจากการที่ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ในท่ามกลางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า แต่ต่อให้การแพทย์ที่ว่าเจริญก้าวหน้าก็จริง แต่ถ้าเขาเหล่านั้นขาดซึ่งปัจจัยหรือสิ่งที่จะไปซื้อไปใช้เพื่อให้เข้าถึงซึ่งการใช้บริการดังกล่าวให้เจริญแค่ไหนก็ช่วยอะไรไม่ได้  ลูกหลานคนไทยโตขึ้นมาก็เป็นได้แค่กรรมกรผู้ใช้แรงงานให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ให้กับผู้รับเหมาก่อสร้าง อยากถามว่าเราต้องการจะปล่อยให้เหตุการณ์มันเป็นอย่างนี้ต่อไปใช่หรือไม่อย่างไร ประเทศไทยมีนักเรียนมีเยาวชนที่มีปัญหาดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน มีครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์มากน้อยเพียงไร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน และทำอะไรอยู่ และจะช่วยพวกเขาเหล่านี้ได้อย่างไร เราคงไม่ต้องการแค่ของแจก แต่อยากให้แก้ในประเด็นปัญหาเหล่านี้อย่างยั่งยืน
นักเรียนบางคนอาศัยห่างไกลโรงเรียน
          การสอบ PRE - ONET ที่ให้ทุกโรงเรียนดำเนินการสอบเป้าหมายก็เพื่อให้โรงเรียนได้เตรียมความพร้อมก่อนการทดสอบที่จัดจะสอบโดยสำนักทดสอบ โดยให้ทุกสถานศึกษาดำเนินการก่อนที่จะมีการกำหนดให้สถานศึกษาสอบทั่วประเทศสอบ O - NET   ทั้งนี้การสอบ O – NET สถาบันทดสอบกำหนดให้ทุกโรงเรียนสอบพร้อมกันในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นการสอบในระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ และระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในวันที่ ๒๘ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ 
           นอกจากมีการสอบ O - net แล้วนี้ยังมีการสอบ NT ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในวันที่ ๘ - ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ และ การสอบ LAS ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ในวันที่ ๘ - ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เช่นกัน
ห้องเรียน
           การสอบ PRE – ONET เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนคงต้องหันไปศึกษาในประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ได้กล่าวไปแล้ว คือในเรื่องของการศึกษามาตรฐานที่เป็นประเด็นปัญหา  การศึกาาสภาพของผู้เรียนอย่างจริงจังและมีข้อมูลที่่ชัดเจนที่จะให้ความช่วยเหลือหรือบรรเทาความยากไร้ ประเด็นดังกล่าวคงจะแก้ไขไม่ได้ในช่วงสั้น ๆ อย่างแน่นอน ทุกอย่างต้องใช้เวลา สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องรีบเร่งแก้ปัญหาเพียงแค่สถานศึกษาอย่างเดียวก็คงรับไม่ไหวฝากเรียนไปถึงผู้มีอำนาจวาสนา  ที่แวะเวียนเข้ามาเป็นใหญ่เป็นโตเป็นเจ้ากระทรวงได้ช่วยดูแลด้วยครับท่าน...
                                                                 อภิชาติ ศรีภาค์
                                                              ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากเลยค่ะ หนูขอความกรุณาฝากความคิดถึง ถึงพี่อ้อยด้วยนะคะ หนูขอเบอร์พี่อ้อยและ e-mail ด้วยค่ะ เบอร์หนู 087-0088079 ( อาลัย พะสุนนท์ )
    arlaipasunon@gmail.com facebook : Na Lai

    ตอบลบ